ทักษะการคิด

กรอบการนำทักษะการคิดสู่การพัฒนาผู้เรียน

ให้สอดคล้องตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

               

ทักษะการคิดสู่การพัฒนาผู้เรียน ให้สอดคล้องตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้ใช้กรอบด้านกระบวนการที่ใช้ในการคิด ซึ่งได้แก่ ความสามารถในทักษะการคิด             ขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยทักษะการคิดที่ใช้ในการสื่อสาร และทักษะการคิดที่เป็นแกน และความสามารถในทักษะการคิดขั้นสูง ประกอบด้วย ทักษะการคิดซับซ้อน ทักษะพัฒนาลักษณะการคิด ทักษะกระบวนการคิด โดยมีทักษะการคิดเป็นกรอบในการพัฒนา ดังนี้

๑. ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน

๑.๑ ทักษะการคิดที่ใช้ในการสื่อสาร

ทักษะการฟัง    ทักษะการพูด    ทักษะการอ่าน   ทักษะการเขียน

๑.๒ ทักษะการคิดที่เป็นแกน

ทักษะการสังเกต                            ทักษะการสำรวจ             

ทักษะการสำรวจค้นหา                     ทักษะการตั้งคำถาม         

ทักษะการระบุ                                ทักษะการรวบรวมข้อมูล    

ทักษะการเปรียบเทียบ                      ทักษะการคัดแยก           

ทักษะการจัดกลุ่ม                           ทักษะการจำแนกประเภท 

ทักษะการเรียงลำดับ                       ทักษะการแปลความ    

ทักษะการตีความ                            ทักษะการเชื่อมโยง          

ทักษะการสรุปย่อ                            ทักษะการสรุปอ้างอิง         

ทักษะการให้เหตุผล                        ทักษะการนำความรู้ไปใช้

๒.ทักษะการคิดขั้นสูง

            ๒.๑ ทักษะการคิดซับซ้อน

ทักษะการให้ความกระจ่าง                  ทักษะการสรุปลงความเห็น      

ทักษะการให้คำจำกัดความ                 ทักษะการวิเคราะห์                    

ทักษะการสังเคราะห์                         ทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้     

ทักษะการจัดระเบียบ                        ทักษะการสร้างความรู้            

ทักษะการจัดโครงสร้าง                     ทักษะการปรับโครงสร้าง              

ทักษะการหาแบบแผน                      ทักษะการพยากรณ์

ทักษะการหาความเชื่อพื้นฐาน             ทักษะการตั้งสมมติฐาน           

ทักษะการพิสูจน์ความจริง                  ทักษะการทดสอบสมมติฐาน    

ทักษะการตั้งเกณฑ์                          ทักษะการประเมิน

๒.๒ ทักษะพัฒนาลักษณะการคิด

ทักษะการคิดคล่อง                          ทักษะการคิดหลากหลาย                  

ทักษะการคิดละเอียด                       ทักษะการคิดชัดเจน       

ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล                ทักษะการคิดถูกทาง              

ทักษะการคิดกว้าง                          ทักษะการคิดไกล                           

ทักษะการคิดลึกซึ้ง

          ๒.๓ ทักษะกระบวนการคิด

ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ         

ทักษะกระบวนการคิดตัดสินใจ    

ทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา                           

ทักษะกระบวนการวิจัย   

ทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์                  

           

 

แผนผังลำดับงาน: กระบวนการสำรอง: ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน

ทักษะการคิดที่ใช้ในการสื่อสาร

ทักษะการคิด

ความหมาย

กระบวนการนำไปพัฒนาผู้เรียน

๑. การฟัง

  การรับรู้ความหมายจากเสียงที่              ได้ยิน การได้ยินเป็นความสามารถ   ที่จะได้รับรู้สิ่งที่ได้ยิน ตีความและ จับความสิ่งที่รับรู้นั้นเข้าใจและ จดจำไว้

ประเภท/วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

๑. ฟังเพื่อติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน

๒. ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน

๓. ฟังเพื่อการเรียนรู้

๔. ฟังเพื่อได้คติชีวิตและความจรรโลงใจ

กระบวนการพัฒนา

๑.สนใจเรื่องที่ฟัง

๒.ทำความเข้าใจในเรื่องที่รับฟัง

๓.จับประเด็นสำคัญ และคิดวิเคราะห์

   วิจารณ์เรื่องราว

๔.แยกแยะข้อความใดเป็นข้อเท็จจริง

   ข้อความใดเป็นข้อคิดเห็น

๕. พิจารณาจุดมุ่งหมายของผู้พูด รวมทั้ง  

   เหตุผล มีความเป็นไปได้น่าเชื่อถือ

 

๒.การพูด

  การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง รวมทั้งกิริยาอาการถ่ายทอดความรู้ ความคิดและความรู้สึกของผู้พูดให้ผู้ฟังได้รับรู้และเกิดการตอบสนอง

ประเภท/วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

๑.การพูดให้ความรู้

          - การพูดบรรยาย

          - การพูดรายงาน

          - การพูดแนะนำ

๒. การพูดแสดงความคิดเห็น

๓. การพูดจูงใจ

๔. การพูดจรรโลงใจ เพื่อความเพลิดเพลิน

๕. การพูดระหว่างบุคคล

๖. การพูดในกลุ่ม

๗. การพูดในที่ชุมชน

กระบวนการพัฒนา

๑. ทำให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อหาที่พูดได้ง่าย ชัดเจน และรวดเร็ว

๒. ผู้ฟังสามารถแสดงพฤติกรรมตอบสนองได้ตรงตามจุดมุ่งหมาย

๓. สิ่งที่พูดเหมาะสมกับผู้ฟังและสถานการณ์

๓.การอ่าน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  การรับรู้ข้อความในการเขียนของตนเองหรือของผู้อื่น รวมถึงการรับรู้ความหมายจากเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นสัญลักษณ์จราจร

ประเภท/วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

๑. การอ่านทบทวน

๒. การอ่านเพื่อจดจำ

๓. การอ่านเพื่อความเข้าใจ

    - การอ่านจับใจความ

    - การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

๔. การอ่านหาข้อมูลเฉพาะ (scan)

๕. การอ่านอย่างจดจ่อ (intensive reading)

๖. การอ่านสะท้อนความคิด

กระบวนการพัฒนา

๑. อ่านแล้วจับใจความได้

๒. สรุปสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน

๓. แยกแยะความรู้ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น

๔. ตีความ แปลความ วิเคราะห์ วิจารณ์

    ประเมินค่าเรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผล

 

๔. การเขียน

   การถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการของบุคคลออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ

ประเภท/วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

๑. การเขียนบรรยาย

๒. การเขียนอธิบาย

๓. การเขียนแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก

๔. การเขียนรายงาน

๕. การเขียนจูงใจ

กระบวนการพัฒนา

๑. ใช้ถ้อยคำสำนวนให้เหมาะสมกับผู้รับสาร

๒. ถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก

    ความต้องการได้อย่างชัดเจนตรงตาม

    ความต้องการ

๓. ใช้ภาษาได้ถูกต้องและเหมาะสมตาม

    หลักการใช้ภาษา ตรงตามความหมาย

   เป็นระเบียบ และชัดเจน

 

ทักษะการคิดที่เป็นแกน

 

ทักษะการคิด

ความหมาย

กระบวนการนำไปพัฒนาผู้เรียน

๑. การสังเกต

  การรับรู้และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยใช้ประสาทสัมผัส

ทั้งห้า เพื่อให้ได้รายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์     ที่ไม่มีการใช้ประสบการณ์และ

ความคิดเห็นของผู้สังเกตในการเสนอข้อมูล ข้อมูลจากการสังเกตมีทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลเชิงปริมาณ

. ใช้ประสาทสัมผัสหลายด้าน (หู ตา จมูก

    ลิ้น กาย) ในการสำรวจสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือ

    ปรากฏการณ์ใดปรากฏการณ์หนึ่ง

    เพื่อให้ได้ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและ

    เชิงปริมาณ

.ให้ข้อมูลการสังเกตที่เป็นข้อมูล

   เชิงประจักษ์โดยไม่ใช้ความคิดเห็นหรือ

   ตีความข้อมูล

. การสำรวจ

 

 

 

 

 

 

 

  การพิจารณาตรวจสอบสิ่งที่สังเกตอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง และความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งนั้น

. กำหนดสิ่งหรือเรื่องที่จะสำรวจ

. แสวงหาวิธีการในการรวบรวมข้อมูล

    เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและความคิดเห็น 

    เกี่ยวกับสิ่งนั้น

. รวบรวมข้อเท็จจริงและความคิดเห็น

    เกี่ยวกับสิ่งที่สำรวจ

. นำเสนอข้อเท็จจริงและความคิดเห็นที่ได้

    จากการสำรวจ

 

. การสำรวจค้นหา

  การค้นหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ยังไม่รู้หรือรู้น้อยมากอย่างมีจุดหมายด้วยวิธีการต่างๆเพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด

. กำหนดสิ่งหรือเรื่องที่จะไปสำรวจค้นหา

. กำหนดวิธีการที่จะสำรวจค้นหาสิ่ง/เรื่องที่

    กำหนด

. ใช้วิธีการที่กำหนดในการค้นหาสิ่ง/เรื่องที่

    ต้องการ

. รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจค้นหา

. นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการสำรวจค้นหา

 

. การตั้งคำถาม

  การพูดหรือการเขียนสิ่งที่สงสัย หรือสิ่งที่ต้องการรู้

. อ่านหรือฟังอย่างตั้งใจ

. ขีดเส้นใต้คำหรือข้อความหรือจดประเด็น

    ที่สงสัยต้องการทราบคำตอบ

. เลือกคำที่ใช้แทนสิ่งที่สงสัย เช่น ใคร 

    อะไร   ที่ไหน อย่างไร ทำไม

. พูดหรือเขียนเป็นประโยคคำถาม

 

 . การระบุ

 การบ่งชี้สิ่งต่างๆหรือบอกส่วนต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบหรือลักษณะของสิ่งที่ศึกษา

. สังเกตสิ่งที่ศึกษา

. บอกข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของสิ่งที่

    ศึกษาตามที่สังเกตให้ได้มากที่สุด

. เชื่อมโยงลักษณะจากการสังเกตกับ

    ลักษณะที่เคยรู้มาก่อนหรือจาก

    ประสบการณ์เดิม

.การรวบรวมข้อมูล

  การใช้วิธีการต่างๆเก็บข้อมูลที่ต้องการรู้

. กำหนดจุดประสงค์ของการเก็บข้อมูล

. หาวิธีการในการเก็บข้อมูลที่เหมาะสม

    กับจุดประสงค์

. ใช้วิธีการที่กำหนดในการรวบรวมข้อมูล

. นำเสนอข้อมูลที่รวบรวมได้

. การเปรียบเทียบ

 

  การจำแนกระบุสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆ ในสิ่งที่เหมือนกันและสิ่งที่ต่างกัน

. กำหนดมิติที่จะเปรียบเทียบ ๒ สิ่ง คือ

   ความเหมือนและความต่าง

. นำของอย่างน้อย ๒ สิ่งที่จะเปรียบเทียบ

    มาจัดให้อยู่บนฐานเดียวกันตามเกณฑ์

    ที่กำหนด

. บอกความเหมือนหรือความต่างของสิ่งที่

    ต้องการเปรียบเทียบกัน

. การคัดแยก

 

 

 

 

 

 

 

 

  การแยกสิ่งที่มีลักษณะต่างกันตั้งแต่ ๑ อย่างขึ้นไปออกจากกัน

. สังเกตสิ่งที่ต้องการคัดแยก (อย่างน้อย ๒ อย่าง)

. บอกข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการคัดแยก

    จากการสังเกต

. เปรียบเทียบสิ่งที่ต้องการคัดแยกเพื่อระบุ

    ความแตกต่าง

. แยกสิ่งที่มีลักษณะต่างกันออกจากกัน

. อธิบายความแตกต่างของสิ่งที่คัดแยก

    ออกจากกัน

. การจัดกลุ่ม

  การนำสิ่งต่างๆที่มีสมบัติเหมือนกันตามเกณฑ์มาจัดเป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีเกณฑ์ต่างกัน

. สังเกตความเหมือน ความต่าง และ

   ภาพรวมของสิ่งต่างๆ ที่จะจัดกลุ่ม

. กำหนดเกณฑ์ของสิ่งที่จะมารวมกลุ่ม

    เดียวกัน ซึ่งแต่ละกลุ่มมีเกณฑ์ต่างกันไป

. จำแนกหรือแยกสิ่งต่างๆ เข้ากลุ่มตาม

    เกณฑ์ที่กำหนด

. อธิบายผลการจัดกลุ่มพร้อมทั้งเกณฑ์ที่ใช้

๑๐. การจำแนกประเภท

  การนำสิ่งต่างๆมาแยกเป็นกลุ่มตามเกณฑ์ที่ได้รับการยอมรับทางวิชาการหรือยอมรับโดยทั่วไป

. สังเกตสิ่งที่สนใจจะจำแนกประเภท

. สังเกตภาพรวม สังเกตสิ่งที่เหมือนกัน

    สิ่งที่ต่างกัน

. กำหนดเกณฑ์ที่ได้รับการยอมรับทาง

    วิชาการหรือยอมรับโดยทั่วไปในการแยก

    สิ่งต่างๆ ออกจากกัน

. แยกสิ่งต่างๆ ออกจากกันตามเกณฑ์

. จัดกลุ่มสิ่งที่มีลักษณะเหมือนกันไว้

    ด้วยกัน

. อธิบายผลการจำแนกประเภทอย่างมี

   หลักเกณฑ์

 

๑๑การเรียงลำดับ

 

  การนำสิ่งต่างๆมาจัดเรียงไปในทิศทางเดียวกัน โดยใช้เกณฑ์การจัดเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง

. กำหนดเกณฑ์การจัดเรียงลำดับ

. นำสิ่งที่ต้องการจัดเรียงลำดับมาจัดเรียง

    ไปในทิศทางเดียวกัน จากปริมาณมาก  

    ไปยังปริมาณน้อย หรือจากปริมาณน้อย

    ไปยังปริมาณมาก

 

๑๒การแปลความ

  การเรียบเรียงและถ่ายทอดข้อมูลในรูปแบบ/วิธีการใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมแต่ยังคงสาระเดิม

. ทำความเข้าใจในสาระและความหมายของ

   สิ่งที่จะแปลความ

. หากลวิธีนำเสนอสาระและความหมายนั้น 

    ในรูปแบบ/วิธีการใหม่แต่ยังให้คงสาระ

    และความหมายเดิม

. เรียบเรียงและถ่ายทอดสาระและ

    ความหมายนั้นตามกลวิธีที่กำหนด

๑๓การตีความ

  การบอกความหมายหรือความสัมพันธ์ของข้อมูลหรือสาระที่แฝงอยู่ไม่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน โดยการเชื่อมโยงกับบริบทความรู้/ประสบการณ์เดิมหรือข้อมูลอื่นๆ

. ศึกษาข้อมูล/ข้อความ/เรื่องที่ต้องการ

   ตีความให้เข้าใจ

. หาความหมายของข้อความที่ไม่ได้บอกไว้ 

    โดย

         ๒. เชื่อมโยงข้อมูล/ข้อความที่มีกับ

               ข้อมูลอื่นๆ ทั้งที่มีอยู่และที่เป็น

               ความรู้หรือประสบการณ์เดิม

         ๒. เชื่อมโยงข้อมูลอย่างมีเหตุผล

. ระบุความหมายที่แฝงอยู่โดยอธิบาย

    เหตุผลประกอบ

๑๔. การเชื่อมโยง

 

 

 

 

 

 

 

  การบอกความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลอย่างมีความหมาย

. พิจารณาข้อมูลต่างๆ

. เลือกข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันมา

    สัมพันธ์กันให้มีความหมาย โดยอาศัย

    ความรู้ประสบการณ์เดิมและแสวงหา

    ความรู้และข้อมูลใหม่

. อธิบายความสัมพันธ์และความหมาย

   ของข้อมูลที่นำมาเชื่อมโยงกัน

๑๕. การสรุปย่อ

 

 

  การจับเฉพาะใจความสำคัญของเรื่องที่ต้องการสรุปและนำมาเรียบเรียงให้กระชับ

. ศึกษาเรื่องที่ต้องการสรุปย่อให้เข้าใจ

. จับเฉพาะใจความสำคัญของเรื่อง โดย

     ๒.๑. จับจุดมุ่งหมายของเรื่อง

     .  ลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง

     ๒.  ระบุเหตุการณ์หรือความหมาย

            ของเรื่องที่จำเป็นต่อการเข้าใจเรื่อง

            ให้ครบถ้วน

      . ตัดรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ

           ที่ไม่จำเป็นต่อการเข้าใจเหตุการณ์

           หรือความหมายสำคัญของเรื่อง

           ออกไป

     ๒. นำเหตุการณ์หรือความหมายของ

           เรื่องที่สำคัญจำเป็นขาดไม่ได้ต่อ

           การเข้าใจเรื่องมาเรียบเรียงให้

           กระชับ

 

๑๖. การสรุปอ้างอิง

 

 

 

 

  การนำความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาใช้ในการสรุปลงความเห็นเกี่ยวกับข้อมูล

. สังเกตสิ่งต่างๆ / ปรากฏการณ์ต่างๆ

. อธิบาย / สรุปสิ่งที่สังเกตตามข้อมูลเชิง

    ประจักษ์

. ขยายข้อมูลจากสิ่งที่สังเกตได้ออกไป

    โดยการอ้างอิงจากความรู้หรือ

    ประสบการณ์เดิม

. สรุปความคิดเห็นจากการอ้างอิง

 

 

 

 

๑๗. การให้เหตุผล

  การอธิบายเหตุการณ์หรือการกระทำต่างๆโดยเชื่อมโยงให้เห็นถึงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำนั้นๆ

. รับรู้และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์  

    หรือ การกระทำต่างๆ ที่ต้องการอธิบาย

    ให้เหตุผล

. ค้นหาสาเหตุของเหตุการณ์หรือการกระทำ 

    ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยหลักตรรกะ/การยอมรับ  

    ของสังคม / ข้อมูลหลักฐานสนับสนุน /

    การทดสอบตรวจสอบ/เหตุผลเชิงประจักษ์

. อธิบายให้เห็นความสอดคล้องของเหตุ

    และผลในเหตุการณ์หรือการกระทำนั้นๆ

 

๑๘.การนำความรู้ไปใช้

  การนำความรู้ที่เกิดจากความเข้าใจไปใช้เพื่อให้เกิดความชำนาญ

. ทบทวนความรู้ที่มี

. มองเห็นความเหมือนกันของสถานการณ์

    ใหม่กับสถานการณ์เดิมที่เคยเรียนรู้มา

. นำความรู้ที่มีไปใช้ในสถานการณ์ใหม่

    ที่ใกล้เคียงกับที่ได้เคยเรียนรู้แล้ว

 

  

แผนผังลำดับงาน: กระบวนการสำรอง: ทักษะการคิดขั้นสูง

 

ทักษะการคิดซับซ้อน 

ทักษะการคิด

ความหมาย

กระบวนการนำไปพัฒนาผู้เรียน

.การทำความกระจ่าง

  การให้รายละเอียดหรือคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่สงสัยหรือคลุมเครือเพื่อให้เกิดความชัดเจน

 

 

 

. ระบุสิ่งที่สงสัยหรือคลุมเครือ

. ใช้วิธีการต่างๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจน เช่น เปรียบเทียบ ยกตัวอย่าง ขยายความ  ตีความ อธิบาย สรุป อ้างอิง ให้เหตุผล

. อธิบายสิ่งที่คลุมเครือให้กระจ่างชัดเจน

.การสรุปลงความเห็น

 

 

 

  การให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูล/เรื่องที่ศึกษา โดยการเชื่อมโยง และอ้างอิงจากความรู้หรือประสบการณ์เดิม หรือจากข้อมูลอื่นๆ  รวมทั้งเหตุผล

 

 

 

 

 

 

. ศึกษาข้อมูลทั้งหมด

. จัดกระทำกับข้อมูลด้วยวิธีการต่างๆ

    ตามความเหมาะสมและสรุปสาระสำคัญ

    ของข้อมูลเรื่องที่ศึกษา

. ให้ความเห็นที่เกินไปจากข้อมูลที่มีอยู่โดย

    อาศัยการเชื่อมโยง การใช้เหตุผล

    และการอ้างอิงจากความรู้ หรือ 

    ประสบการณ์เดิมหรือจากข้อมูลอื่นๆ

. อธิบายความคิดเห็นโดยให้เหตุผล

    ประกอบ

 

.การให้คำจำกัดความ

  การระบุลักษณะเฉพาะ

ที่สำคัญของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ต้องการนิยาม

. ศึกษาองค์ประกอบ/ลักษณะ/สมบัติ

   ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ครอบคลุม

. คัดสมบัติเฉพาะหรือสมบัติร่วมของสิ่งนั้น

. นำสมบัติร่วมเหล่านั้นมาเรียบเรียงเป็น

    ข้อความให้กะทัดรัด ชัดเจน สละสลวย

 

.การวิเคราะห์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  การจำแนกแยกแยะสิ่งใดสิ่งหนึ่ง/เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อค้นหาองค์ประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อ  

ช่วยให้เกิดความเข้าใจในเรื่องนั้น

. ศึกษาข้อมูล

. ตั้งวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ข้อมูล

. กำหนดเกณฑ์ในการจำแนกแยกแยะ

    ข้อมูล

. แยกแยกข้อมูลตามเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อ

    ให้เห็นองค์ประกอบของสิ่งที่วิเคราะห์

. หาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ

    ต่างๆและความสัมพันธ์ของข้อมูลใน

    แต่ละองค์ประกอบ

. นำเสนอผลการวิเคราะห์

. นำผลการวิเคราะห์มาสรุปตอบคำถาม

    ตามวัตถุประสงค์

. การสังเคราะห์

 

  การนำความรู้ที่ผ่านการวิเคราะห์มาผสมผสานสร้างสิ่งใหม่ที่มีลักษณะต่างจากเดิม

. กำหนดวัตถุประสงค์ของสิ่งใหม่ที่

    ต้องการสร้าง

. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

. เลือกข้อมูลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

. นำข้อมูลมาทำกรอบแนวคิดสำหรับ

    สร้างสิ่งใหม่

. สร้างสิ่งใหม่ตามวัตถุประสงค์โดยอาศัย

    แนวคิดที่กำหนด รวมกับข้อมูลอื่นๆ

    ที่เกี่ยวข้อง

.การประยุกต์ใช้ความรู้

  การนำความรู้ที่มีไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม

. สำรวจลักษณะของสถานการณ์ใหม่

. ทบทวนข้อมูลหรือความรู้ที่มี

. คัดเลือกข้อมูลความรู้ที่มีความสอดคล้อง

    กับลักษณะของสถานการณ์ใหม่

. ตรวจสอบความเป็นเหตุเป็นผลหรือ

    ความเหมาะสมระหว่างข้อมูลกับ

    สถานการณ์

. ใช้ความรู้ในสถานการณ์ใหม่

.การจัดระเบียบ

  การนำข้อมูลหรือสิ่งต่างๆ มาจัดให้เป็นระเบียบในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเพื่อให้สะดวกแก่การดำเนินการ

. พิจารณาข้อมูลหรือสิ่งที่ต้องการจัด

    ระเบียบทั้งหมด

. กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดระเบียบ

    ข้อมูล/สิ่งต่างๆ

. นำข้อมูลมาจัดระเบียบโดยจัดเป็น  

    ประเภท หมวดหมู่ หรือเรียงตามลำดับ

    ขั้นตอนตามความเหมาะสม

 

 

. การสร้างความรู้

  การสร้างความรู้ของตนเองจากการทำความเข้าใจเชื่อมโยงข้อมูลใหม่กับข้อมูลเดิม

. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

. อภิปรายร่วมกัน สาธิตให้เห็น

. ทดลองใช้ ประเมินคุณค่า

. นำความรู้ไปใช้

. การจัดโครงสร้าง

  การนำความรู้มาจัดให้เห็นเป็นโครงสร้างที่แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล/ข้อความรู้ซึ่งเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างนั้นๆ

. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

   ให้ครอบคลุม

. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล

. จัดแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล /

    องค์ประกอบของเรื่อง

๑๐. การปรับโครงสร้าง

  การนำข้อมูลมาปรับ/เปลี่ยน/

ขยายโครงสร้างความรู้เดิม

. ศึกษาโครงสร้างความรู้เดิม

. พิจารณาข้อมูลใหม่

. เชื่อมโยงข้อมูลใหม่กับข้อมูลเดิม โดย

    การปรับเปลี่ยน/ขยายโครงสร้างความรู้

    เดิมตามความเหมาะสม

. นำเสนอโครงสร้างความรู้ใหม่ที่ได้ปรับ /

    เปลี่ยน / ขยาย

๑๑. การหาแบบแผน

 

 

 

 

 

 

  การหาชุดความสัมพันธ์ของลักษณะหรือองค์ประกอบในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

. สำรวจข้อมูลหรือองค์ประกอบของหลาย

    สิ่งที่มีลักษณะคล้ายกัน

. ดึงองค์ประกอบต่างๆที่มีลักษณะร่วม

    ออกมา

. เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง

    องค์ประกอบต่างๆ

. นำเสนอแบบแผนที่พบ

๑๒. การพยากรณ์

  การคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยการสังเกต ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หรือใช้ความรู้ที่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฏี ในเรื่องนั้นมาช่วยในการทำนาย

๑. ศึกษาปัญหาที่ต้องการคำตอบล่วงหน้า

. ใช้ความรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ

    หรือความรู้ที่เป็นหลักการ กฎ ทฤษฎี

    ในเรื่องนั้นมาคาดคะเนคำตอบของคำถาม

    หรือปัญหาที่ต้องการรู้

. ระบุคำตอบที่ได้จากการคาดคะเน

 

 

 

 

 

๑๓.การหาความเชื่อ

     พื้นฐาน

 

  การใช้หลักเหตุผลค้นหาความเชื่อที่กำหนดการกระทำของบุคคลนั้น

. สังเกตพฤติกรรมหรือการกระทำของ

    บุคคล

. ระบุลักษณะสำคัญของพฤติกรรม

. วิเคราะห์หาความคิดความเชื่อที่เป็น

    สาเหตุทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมนั้นๆ

    โดยใช้หลักเหตุผลหรือการอ้างอิงจาก

    ประสบการณ์

. สรุปความเชื่ออ้นเป็นเหตุของการกระทำ

    ของบุคคลนั้น

๑๔. การตั้งสมมติฐาน

 

 

 

 

  การคาดคะเนคำตอบที่ยังไม่ได้พิสูจน์ บนฐานข้อมูลจากการสังเกตปรากฏการณ์  ความรู้ และประสบการณ์เดิม

. ศึกษาปัญหาที่ต้องการคำตอบล่วงหน้า

. ใช้ความรู้จากแหล่งต่างๆมาคาดคะเน

    คำตอบให้ได้มากกว่า 1 คำตอบ

. ระบุสมมติฐานพร้อมทั้งข้อมูลข้อความรู้

    ที่สนับสนุนสมมติฐานนั้น

๑๕. การพิสูจน์

      ความจริง

  การหาข้อมูลที่เชื่อถือได้มาสนับสนุนข้อสรุปหรือคำตอบว่าเป็นจริง

. ศึกษาผลสรุปหรือหาคำตอบ

. แสวงหาวิธีการ และข้อมูลที่เชื่อถือ

    สนับสนุนผลสรุปหรือคำตอบนั้น

. ยืนยันผลสรุปหรือคำตอบโดยยกข้อมูล

    หลักฐานที่เชื่อถือได้มาสนับสนุน

๑๖.การทดสอบ

     สมมติฐาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  การหาข้อมูลที่เป็นความรู้เชิงประจักษ์เพื่อใช้สนับสนุนหรือคัดค้านคำตอบล่วงหน้าที่คาดคะเนไว้ หรือเพื่อยอมรับหรือปฏิเสธคำตอบที่คาดคะเนไว้

. ศึกษาคำตอบที่คาดคะเนไว้หรือคำตอบ

    ที่รอการพิสูจน์

. รวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการพิสูจน์

    คำตอบกำหนดแผนการทดสอบ

. ดำเนินการทดสอบ และเก็บรวบรวม

    ข้อมูลตามแผนที่กำหนด

. วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล

. พิจารณาความสอดคล้องระหว่างผลสรุป

    กับคำตอบที่คาดคะเนไว้

๑๗. การตั้งเกณฑ์

 

 

  การบอกประเด็น/หัวข้อที่ใช้เป็นแนวทางในการประเมิน

. ศึกษาลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะ

    ประเมิน

. ระบุลักษณะที่สำคัญของสิ่งนั้น

    (อาจอาศัยประสบการณ์ หลักวิชา หรือ

     การยอมรับในการเลือกประเด็น)

๑๘. การประเมิน

 

 

 

 

 

  การตัดสินคุณค่าหรือคุณภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยการนำผลจากการวัดไปเทียบกับระดับคุณภาพที่กำหนด

. นำประเด็น / หัวข้อที่จะใช้ในการประเมิน

    มากำหนดระดับคุณภาพหรือคุณค่าที่

    ยอมรับได้

. นำผลที่ได้จากการวัดมาเทียบกับระดับ

    คุณภาพ

. ระบุระดับคุณภาพของสิ่งนั้น

 

 

 

ทักษะพัฒนาลักษณะการคิด 

ทักษะการคิด

ความหมาย

กระบวนการนำไปพัฒนาผู้เรียน

. การคิดคล่อง

  การให้ได้ข้อมูลจำนวนมากอย่างรวดเร็ว

. กำหนดประเด็นที่ต้องการคิด

. คิดเชื่อมโยงเรื่องที่คิดกับความรู้/

    ประสบการณ์/ความรู้สึก/

    ความคิดเห็นของตนอย่างรวดเร็ว

    ให้ได้ข้อมูลจำนวนมาก

๒. การคิดหลากหลาย

 

 

 

 

  การให้ได้ข้อมูลหลายประเภท

. กำหนดประเด็นที่ต้องการคิด

. คิดถึงประเภท / ชนิด/แบบ /

    ลักษณะที่แตกต่างกันของสิ่งที่คิด

    ให้ได้จำนวนมาก

. หาตัวอย่างของประเภท /ชนิด /

    แบบ / ลักษณะของสิ่งที่คิด

การคิดละเอียด

  การให้ได้ข้อมูลที่เป็นราย ละเอียดของสิ่งที่ต้องการคิด

. พิจารณาเรื่องที่คิดว่ามีประเด็นใด

    ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มขึ้น

    และเพิ่มจุดประสงค์ใด

. ขยายข้อมูลของประเด็นที่คิดให้ได้  

    รายละเอียด เพิ่มมากขึ้น

การคิดชัดเจน

  การคิดที่ผู้คิดรู้ว่าตนรู้และ

ไม่รู้อะไร เข้าใจและไม่เข้าใจอะไร และสงสัยอะไรในเรื่อง 

ที่คิด

. พิจารณาข้อมูล/เรื่องที่นำมาคิด

. ระบุได้ว่าตนเองรู้/ไม่รู้ เข้าใจ/ไม่

    เข้าใจอะไรหรือสงสัยอะไร

. อธิบายความเข้าใจของตนในเรื่อง

    ที่รู้ ยกตัวอย่างและตอบคำถาม

    ในเรื่องนั้น

คิดอย่างมีเหตุผล

 

 

 

  การใช้หลักเหตุผลในการคิดพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

. รวบรวมข้อมูลในเรื่องที่คิด

. จำแนกข้อมูลในเรื่องที่คิดที่เป็น

    ข้อเท็จจริงและความคิดเห็นออก

    จากกัน

. พิจารณาความน่าเชื่อถือของ

    ข้อเท็จจริงและความคิดเห็น

. พิจารณาเรื่องที่คิดโดยใช้เหตุผล

    แบบนิรนัย และ/หรืออุปนัยบนฐาน

    ของข้อมูลที่เชื่อถือได้

. อธิบายเรื่องที่คิดอย่างมีเหตุผล

.การคิดถูกทาง

 

 

 

  การคิดที่ทำให้ได้ความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและเป็นประโยชน์ระยะยาว

. แสวงหาข้อมูลในเรื่องที่คิด

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่

    เกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ

    ส่วนรวมและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

    ในระยะยาว

. คิดพิจารณาข้อมูลและตัดสินใจ

    โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม

    มากกว่าส่วนตน

. คิดพิจารณาข้อมูลและตัดสินใจ

    โดยคำนึงถึงประโยชน์ระยะยาว

    มากกว่าระยะสั้น

. การคิดกว้าง

 

 

 

 

 

  การคิดโดยพิจารณาถึงองค์ประกอบ/แง่มุมต่างๆของเรื่องที่คิดอย่างครอบคลุม

. คิดถึงองค์ประกอบ/แง่มุมต่างๆ

    ที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องที่คิดให้ได้

    มากที่สุด

. หาข้อมูลรายละเอียดของ

    องค์ประกอบ/แง่มุมของเรื่องที่คิด

    ให้ได้มากที่สุด

. พิจารณาเรื่องที่คิดโดยใช้ข้อมูล

    หลายแง่มุม

. สรุปผลการพิจารณาเรื่องที่คิด

. การคิดไกล

  การคิดที่ทำให้สามารถอธิบายเหตุการณ์ในอนาคตได้

. นำข้อมูล/ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง

    ที่คิดมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์

    เชิงสาเหตุ

. ทำนายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

    ของปัจจัยต่างๆอย่างต่อเนื่อง

    เป็นขั้นๆไป โดยอาศัยข้อมูลและ

    ข้อเท็จจริงต่างๆเป็นฐานใน

    การทำนาย

. ประเมินความเหมาะสมและความ

    เป็นไปได้ของความสัมพันธ์

    เชิงสาเหตุของแต่ละขั้นตอน

. ลงความเห็นการทำนายเหตุการณ์

   ในอนาคต

 

. การคิดลึกซึ้ง

 

 

 

 

  การคิดที่ทำให้เข้าใจความซับซ้อนของโครงสร้างและระบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในโครงสร้างของเรื่องที่คิด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

. รวบรวมส่วนประกอบและข้อมูล

    ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่คิด

    อย่างครอบคลุม

. เชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน

    ของรายละเอียดในส่วนประกอบ

    ต่างๆเพื่อให้เห็นโครงสร้างหรือ

    ภาพรวมของเรื่องที่คิด

. หาส่วนประกอบที่มีความสำคัญ

    หรือมีอิทธิพลต่อเรื่องที่คิด

. หาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของ

    ส่วนประกอบต่างๆ ที่โยงใยของ

    เรื่องที่คิด

. วิเคราะห์หาเหตุที่แท้จริงของ

    ปัญหา / เรื่องที่คิด

. อธิบายเรื่องที่คิดไว้อย่างเป็นระบบ

ทักษะกระบวนการคิด 

ทักษะการคิด

ความหมาย

กระบวนการนำไปพัฒนาผู้เรียน

.กระบวนการคิดวิจารณญาณ

 

  การคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นกระบวนการคิดเพื่อให้ได้ความคิดที่รอบคอบสาเหตุที่จะเชื่อหรือจะทำโดยผ่านการพิจารณาปัจจัยรอบด้านอย่างกว้างไกล ลึกซึ้ง

และผ่านการพิจารณากลั่นกรองไตร่ตรอง ทั้งทางด้านคุณ โทษ และคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งนั้นมาแล้ว

. ระบุประเด็นปัญหา หรือ ประเด็นใน

    การคิด

. ประมวลข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากการคิด

    ทางกว้าง คิดทางลึกซึ้ง คิดอย่าง

    ละเอียด และคิดในระยะไกล

. วิเคราะห์ข้อมูล

. พิจารณาทางเลือก โดยพิจารณาข้อมูล

    โดยใช้หลักเหตุผลและระบุทางเลือก

    ที่หลากหลาย

. ลงความเห็น/ตัดสินใจ/ทำลายอนาคต

    โดยประเมินทางเลือกและใช้เหตุผล

    คิดคุณค่า

.กระบวนการคิดตัดสินใจ

  การตัดสินใจเป็นกระบวนการที่ใช้ใน

การพิจารณาเลือกตัวเลือกที่มีตั้งแต่ ๒ ตัวเลือกขึ้นไป ทางเลือกนั้นอาจจะเป็นวัตถุสิ่งของ หรือแนวปฏิบัติต่างๆที่ใช้ในการแก้ปัญหา หรือดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

. การระบุเป้าหมายหรือปัญหาที่

    ต้องการตัดสินใจ

. การระบุทางเลือก

. การวิเคราะห์ทางเลือก

. การจัดลำดับทางเลือก

. การเลือกทางเลือก

. กระบวนการคิดแก้ปัญหา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  การแก้ปัญหาเป็นขั้นตอนการเผชิญฝ่าฟันอุปสรรค และแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้ปัญหานั้นหมดไป

 

กระบวนการแก้ปัญหาทั่วไป

. ทำความเข้าใจปัญหา

   ๑.๑ ปัญหาคืออะไร

   ๑.๒ ข้อมูลใดเกี่ยวข้องกับปัญหา

   ๑.๓ มีเงื่อนไขหรือต้องการข้อมูลใด

         เพิ่มเติม

. วางแผนออกแบบแก้ปัญหาโดย

    คำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

    ๒.๑ เคยพบปัญหาทำนองนี้มาก่อน

          หรือไม่

   .๒ รู้จักทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้อง

         กับปัญหาหรือไม่

    ๒.๓ ใช้วิธีแก้ปัญหาที่เคยประสบ

           ความสำเร็จมาก่อนได้หรือไม่

. ดำเนินการตามแผนมีการตรวจสอบ

    แต่ละขั้นตอนที่ปฏิบัติ

. สรุปและตรวจสอบการแก้ปัญหา

 

กระบวนการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

  การวิจัย หมายถึง ขั้นตอน

ที่ใช้หาคำตอบของปัญหาเป็นผลให้พบองค์ความรู้ใหม่ขั้นตอนที่ใช้แก้ปัญหานั้น

มีความเป็นลำดับขั้นตอนอย่าง

เป็นระบบ

. ระบุปัญหา

    ๑.๑ สังเกต

    .๒ ระบุปัญหาให้ชัดเจน

. ตั้งสมมติฐานเป็นขั้นตอนการหา

    คำตอบล่วงหน้า

. ออกแบบเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อเป็น

   แนวทางการหาคำตอบของปัญหา

   (ทดสอบสมมติฐาน)

. สร้างเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูลเป็น

    ขั้นตอนการปฏิบัติตามแบบการเก็บ

    รวบรวมข้อมูล

. วิเคราะห์ข้อมูลเป็นการแยกแยะข้อมูล

. สรุปองค์ความรู้ใหม่

. กระบวนการคิดสร้างสรรค์

  ความคิดที่แปลกใหม่ที่จะนำไปสู่สิ่งต่างๆ ผลผลิตใหม่ๆ ทางเทคโนโลยี และความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่

. ระดมพลังความคิด

. สร้างสรรค์ชิ้นงาน

. นำเสนอ วิพากษ์วิจารณ์

. ประเมินผลงานของตนเอง

. เผยแพร่ผลงาน

 ที่มาของข้อมูล

          http://www.suicidethai.com / elearning / test /education / articles / view.asp?id= 3

        http://th.wikipedia.org/wiki

        http://www.wangnoi-nfe/index.file/Page1181.html

          http://home.kku.ac.th/thai416102/SubjectWeb/Critical-Reading_Meaning.htm

          http://www.e-learning.mfu.ac.th/mflu/1001/chapter31.htm

          ทิศนา แขมมณีและคณะ การนำเสนอรูปแบบเสริมสร้างทักษะการคิดขั้นสูง ของนิสิต นักศึกษาครูระดับปริญญาตรีสำหรับหลักสูตรครุศึกษา ”.

 

ดาวน์โหลดชุดฝึกอบรมพัฒนาทักษะการคิด
ใบแทรก(25 ม.ค. 54)  
ใบความรู้ที่ 1-2(มร.)(25 ม.ค. 54)  
กิจกรรมที่ 4(25 ม.ค. 54)  
กิจกรรมที่ 3(25 ม.ค. 54)  
กิจกรรมที่ 2 (5)-2(6)(25 ม.ค. 54)  
กิจกรรมที่ 2 (25 ม.ค. 54)  
กิจกรรมที่ 1 วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี(25 ม.ค. 54)  
กิจกรรมที่ 1 วิชาศิลปะ(25 ม.ค. 54)  
กิจกรรมที่ 1 วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา(25 ม.ค. 54)  
กิจกรรมที่ 1 วิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม(25 ม.ค. 54)  
กิจกรรมที่ 1 วิชาภาษาต่างประเทศ(25 ม.ค. 54)  
กิจกรรมที่ 1 วิชาวิทยาศาสตร์(25 ม.ค. 54)  
กิจกรรมที่ 1 วิชาคณิตศาสตร์(25 ม.ค. 54)  
กิจกรรมที่ 1 วิชาภาษาไทย(25 ม.ค. 54)  
คำชี้แจง(25 ม.ค. 54)  
ปกเอกสาร(25 ม.ค. 54)  

โรงเรียนแม่ออนวิทยาลัย

109 หมู่ 2 ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ 50130    โทร.0-5385-9405-6